หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557

เมื่อบ้านท่านน้ำประปาไหลเบามาก เมื่อเทียบกับตอนที่ซื้อบ้านใหม่ๆ

....เมื่อบ้านท่านน้ำประปาไหลเบามาก เมื่อเทียบกับตอนที่ซื้อบ้านใหม่ๆ อาจจะมาจากการแตกรั่วของท่อส่งน้ำ  โดยหลักการ หากท่อประปาวางอยู่เฉยๆ โดยไม่มีสิ่งใดๆไปกระทำ คงไม่มีปัญหา ปัญหาส่วนใหญ่เป็นการประปาวางท่อผิดเองหรือไม่ก็เราๆ ท่านๆ หรือผู้รับเหมาหรือโครงการ ที่รู้เท่าไม่ถึงการ ที่วางสิ่งอื่นๆ หรือก่อสร้างสิ่งใดไปกดทับจนข่อต่อหลุดหรือแตก   จากผลการศึกษาปัจจัยที่มีการแตกรั่วของท่อน้ำประปา ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  โดยนี่เป็นบางส่วนของข้อสรุปปัญหาการใช้ท่อ PVC ชนิดต่างๆ 


"สาเหตุของการแตกรั่วของท่อประปาชนิด PVC นั้น มีสาเหตุอยู่ 9 ประการด้วยกนได้แก่ การวางที่หนุนวัตถุอื่น, ฐานรองท่อที่ไม่เหมาะสม, การแตกรั่วเนื่องจากการดัดท่อ, การแตกรั่วเนื่องจากการสวมที่ที่ไม่ได้คุณภาพ, การแตกรั่วเนื่องจากการเบียดวัตถุอื่น, การวางท่อตื้นกวามาตรฐาน, การทรุดตัวที่แตกต่างของพื้นดิน, การใช้อุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสม และการแตกรั่วเนื่องจากแรงกระทําภายนอก โดยที่ปัญหาส่วนใหญ่นั้นเกิดจากการวางท่อที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานของการประปานครหลวง ซึ่งในปัจจุบันอาจทําได้ยากเนื่องจากสภาพการใช้สอยพื้นที่ใต้ดินของสาธารณูป โภคต่าง ๆ ทําให้มีพื้นที่จํากดในการวาง" 





"สาเหตุของการแตกรั่วของท่อประปาชนิด AC นั้น มีสาเหตุอยู่3 สาเหตุหลักด้วยกน ได้แก่ การแตกรั่วเนื่องจากการทรุดตัวที่แตกต่างของพื้นดิน, การแตกรั่วเนื่องจากการเสื่อมสภาพของตัวท่อ และ การแตกรั่วเนื่องจากแรงกระทําภายนอก สาเหตุเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ไม่สามารถแกไขได้ แต่อยางไรก็ดีการควบคุมแรงดันของนํ้าในท่อให้มีแรงดันคงที่โดยใช้ วาล์วควบคุมแรงดัน ก็สามารถป้องกนการแตกรั่วได้ชัวคราว"

"สาเหตุของการแตกรั่วของท่อประปาชนิด GI นั้นเกิดจากการเสื่อมสภาพของตัวท่อ ซึ่งเกิดการผุกร่อนของตัวท่อจนเกิดการรั่วซึมในที่สุด ซึ่งเป็นปัญหาอันเนื่องมาจาก คุณสมบัติของท่อชนิด GI" 

"สาเหตุของการแตกรั่วของท่อประปาชนิด PB นั้น มีสาเหตุอยู่9 ประการด้วยกนได้แก่ การเสื่อมสภาพของตัวท่อและอุปกรณ์, การทรุดตัวที่แตกต่างกัน , การวางท่อที่ตื้นจนเกินไป, การวางท่อโดยไม่มีตัวยึด, การเบียดและทับโดยวัตถุอื่น, การซ่อมท่อและวางท่อผิดวิธี (การพับท่อ, การสอดท่อใต้ดิน และการใช้ข้อต่อชนิด grab lock อยางไม่ถูกวิธี) และแรงกระทําภายนอก" 


*** ข้อมูลจากทีมงานศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการแตกรั่วของท่อนํ้าประปา  คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์